วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

BIENVENUS !








1). สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรสำหรับบันทึกเรื่องราว การศึกษาร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในช่วงนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความจาก หลักฐานชั้นต้นที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน โลหะ เครื่อง ประดับ เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก เมล็ดพืช ภาพเขียนสีตามฝาผนังถ้ำ
2). สมัยประวัติศาสตร์ เป็นช่วงที่มีตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ แล้ว การศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ จะมีการใช้หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ อักษร เช่น จารึก จดหมายเหตุ บันทึกการเดินทาง ปูมโหร พงศาวดาร ตำนาน เป็นต้น และ หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน เช่น เจดีย์ ปราสาทหิน เมืองโบราณ วัด เป็นต้น และโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เงินเหรียญ เป็นต้น มาเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ตีความเพื่อให้ทราบเรื่องราวความเป็นมาในอดีตให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น
หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน เช่น เจดีย์ ปราสาทหิน เมืองโบราณ วัด เป็นต้น และโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เงินเหรียญ เป็นต้น มาเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ตีความเพื่อให้ทราบเรื่องราวความเป็นมาในอดีตให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น




การนับและการเทียบศักราชในประวัติศาสตร์ไทย

- พุทธศักราช (พ.ศ.) พ.ศ. ใช้กันแพร่หลายในประเทศที่ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนา เช่น ไทย ลาว พม่าและกัมพูชา โดยไทยเริ่มใช้ พ.ศ. มาตั้งแต่สมัยอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและใช้อย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี
- มหาศักราช (ม.ศ.) ม.ศ. เป็นศักราชที่เริ่มใช้ในอินเดียโดยพระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะทรงตั้งขึ้น และต่อมาได้แพร่หลายไปยังดินแดนที่ได้รับอารยธรรมอินเดียมหาศักราชพบมากในจารึกสมัยสุโขทัยและจารึกในดินแดนไทยรุ่นแรก ๆ การเทียบมหาศักราชเป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 621- จุลศักราช (จ.ศ.) จ.ศ. เป็นศักราชของพม่าสมัยพุกามก่อนแพร่เข้ามาในดินแดนประเทศไทยา นิยมใช้ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ตอนต้น และล้านนา การเทียบจุลศักราชเป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 1181 - รัตนโกสินทร์ (ร.ศ.) ร.ศ. เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริขั้นใช้ในกลางรัชสมัยของพระองค์ โดยเริ่มนับ ร.ศ. 1 ในปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี คือ พ.ศ. 2325 การเทียบรัตนโกสินทร์ศกเป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 2324 นอกจากการนับศักราชที่กล่าวมา ในบางกรณีบางเหตุการณ์ที่เราไม่ต้องนับเวลาอย่างละเอียดโดยการระบุศักราช ก็อาจนับเวลาอย่างกว้าง ๆ ได้อีก เช่น สหัสวรรษ หมายถึง เวลาในรอบ 1,000 ปีศตวรรษ หมายถึง เวลาในรอบ 100 ปี ทศวรรษ หมายถึงเวลาในรอบ 10 ปี เป็นต้น

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยนิยมแบ่งหลายแบบ ที่ใช้กันในปัจจุบันมักเป็นการผสมระหว่างหลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์สากลกับหลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์ไทย โดยในประวัติศาสตร์ไทยมีการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์คล้ายกับประวัติศาสตร์สากล คือ แบ่งออกเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ และในแต่ละยุคสมัยได้ถูกแบ่งเป็นยุคสมัยย่อย ๆ ลงไปอีกเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น ดังนี้
3.1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นสมัยที่ยังไม่ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษร การแบ่งยุคสมัยจึงนิยมแบ่งตามนักโบราณคดี ซึ่งกำหนดยุคสมัยจึงนิยมแบ่งตามนักโบราณคดี ซึ่งกำหนดยุคสมัยตามหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์นิยมแบ่งช่วงเวลาออกเป็นยุคหินกับยุคโลหะ 1) ยุคหิน แบ่งย่อยออกเป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้1.1 ยุคหินเก่า มีอายุประมาณ 700,000 ปีมาแล้ว ดังพบหลักฐานประเภทเครื่องมือหินกรวดกะเทาะหน้าเดียวเพื่อใช้สับ ตัด ขุด แหล่งที่พบ เช่น บ้านแม่ทะ จังหวัดลำปาง มนุษย์ยุคนี้เป็นพวกเร่ร่อน เก็บหาของป่า ล่าสัตว์ อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ1.2 ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 - 4,300 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความประณีตขึ้น สามารถทำภาชนะดินเผาใช้ในชีวิตประจำวันโดยมีทั้งภาชนะแบบผิวเกลี้ยงและมีลวดลายที่เกิดจากการใช้เชือกทาบ แหล่งที่พบหลักฐานยุคหินกลาง เช่น ที่ถ้ำไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี1.3 ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 4,300 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้รู้จักการตั้งถิ่นฐานทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องมือหินขัดที่มีความคม มีผิวเรียบ ทำเครื่องปั้นดินเผาแบบสามขา เช่น ที่บ้านเชียง จังหวัดอุบลราชธานี บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
2) ยุคโลหะ แบ่งออกได้ดังนี้2.1 ยุคสำริด มีอายุประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว ดังพบหลักฐานเครื่องมือสำริดที่เป็นอาวุธ เครื่องประดับ เครื่องมือเครื่องใช้ กลองสำริด เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี เช่น ที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
2.2 ยุคเหล็ก มีอายุประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว ดังพบเครื่องมือเหล็กที่ทนทานและใช้ประโยชน์ได้มากกว่าเครื่องมือสำริด เช่น ที่บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี สังคมยุคนี้มีความซับซ้อนมากขึ้น มีการติดต่อกับต่างถิ่น มีชนชั้น ดังจะเห็นได้จากการฝังศพ ที่บางศพมีข้าวของเครื่องใช้และเครื่องประดับมากมาย แสดงถึงการเป็นบุคคลสำคัญ


MERCI BEAUCOU



แบบทดสอบ

Download แบบทดสอบ.html from Uploadingit.com